top of page
ประวัติโรงเรียนปริยัติสามัญวัดมหาธาตุ

          โรงเรียนปริยัติสามัญวัดมหาธาตุ เดิมเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี-นักธรรม โดยดำริตั้งของพระเพชรบูรณคณาวสัย (แพ ธมฺมธริโก) อดีตเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์  อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ พระอารามหลวง สมัยนั้น ต่อมาพระศรีพัชโรดม (สุรินทร์ ชุตินฺธโร ป.ธ.7) รองเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ พระอารามหลวง (สมณศักดิ์และตำแหน่งในขณะนั้น) ได้มีดำริที่จะให้พระภิกษุสามเณรภายในวัดมหาธาตุ และวัดใกล้เคียงภายในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ได้มีสถานที่ศึกษาในระบบสายสามัญมากขึ้น จึงจัดตั้งโรงเรียนผู้ใหญ่วัดมหาธาตุ สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยจัดให้มีการศึกษาในระดับ 4-5 (เทียบเท่า ม.3-ม.6) 

          ต่อมา ทางมหาเถรสมาคม ได้สนับสนุนให้วัดต่าง ๆ จัดการศึกษาแบบสามัญมากขึ้น แต่ต้องคงเป็นโรงเรียนปริยัติธรรม แผนกบาลี-นักธรรมไว้อยู่ 

          ด้วยเหตุนี้ พระราชพัชราภรณ์ (สุรินทร์ ชุตินฺธโร ป.ธ.7) เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (มหานิกาย) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ พระอารามหลวง และเจ้าสำนักศาสนศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้สนองดำริดังกล่าว จึงจัดให้มีโรงเรียนปริยัติสามัญวัดมหาธาตุขึ้น ตามจุดประสงค์ดังกล่าว โดยเปิดทำการเรียนการสอน ทั้งแผนกบาลี - นักธรรม และแผนกสามัญศึกษา โรงเรียนปริยัติสามัญวัดมหาธาตุ สังกัดกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดทำการเรียนการสอน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย ได้รับการอนุญาต และอนุมัติให้เป็นโรงเรียน ในวันที่ 2 เดือน มิถุนายน พุทธศักราช 2541 ได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า "โรงเรียนปริยัติสามัญวัดมหาธาตุ" โดยมี

  1. พระเทพรัตนกวี     ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน

  2. พระพิศาลพัชรกิจ  ผู้จัดการโรงเรียน

  3. พระศรีพัชโรดม     ผู้อำนวยการโรงเรียน

          โดยเริ่มเปิดการเรียนการสอนในวันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2541 โดยเริ่มเรียนตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึงเวลา 15.30 น. เรียนวันละ 8 คาบ คาบละ 50 นาที หยุดเรียนวันเสาร์ และวันอาทิตย์ โดยเปิดเรียนตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ 

วิสัยทัศน์

“มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีมาตรฐานด้านความรู้พื้นฐาน กล้าคิดวิเคราะห์ใฝ่เรียนรู้

เน้นครูสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญ บริหารร่วมสร้างสรรค์ โดดเด่นด้านนักธรรมบาลี

มีคุณธรรมจริยธรรม”

พันธกิจ
  • ข้อที่ 1 จัดหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551(ด้านพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา)

  • ข้อที่ 2 จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญควบคู่การสอนแบบพุทธวิธี

  • ข้อที่ 3  พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีมาตรฐานด้านวิชาชีพ

  • ข้อที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาโดยยึดหลักการแบบมีส่วนร่วม

  • ข้อที่ 5 จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักธรรมคำสั่งสอน

เป้าหมาย
  • ข้อที่ 1 ผู้เรียนมีความรู้หลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551(ด้านพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา)

  • ข้อที่ 2 ครู ผู้เรียน มี และสามารถใช้กระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและบูรณาการองค์ความรู้วิชาการทางพระพุทธศาสนา

  • ข้อที่ 3 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีมาตรฐานด้านวิชาชีพ

  • ข้อที่ 4  สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการศึกษาที่ดีมีคุณภาพแบบมีส่วนร่วม

  • ข้อที่ 5 ผู้เรียนมีองค์ความรู้คู่คุณธรรมตามหลักธรรมคำสั่งสอนและเป็นศาสนทายาทที่ดีในสังคม

bottom of page